ได้แก่
1. ปลาเสือตอลายใหญ่ datnioides pulcher
2. ปลาอโรวาน่าเขียว Scleropages formosus
"สัตว์ป่าคุ้มครอง คือสัตว์ป่าที่มีชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ประกอบด้วยสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด แมลง 20 ชนิด ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ 12 ชนิด"
ผู้ใดครอบครอบ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่ายแจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ปลาเสือตอ หรือปลาอโรวาน่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 มาตรา 19 กับ มาตรา 20
มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่า
สงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตามมาตรา 17 ที่
ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว และโดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และ.
ต้องปฏิบัติตามของกำหนดในกฎกระทรวงและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน
กฎกระทรวง
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับแก่
(1) การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองของผู้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ตามมาตรา 18 (1)
ที่มีไว้เพื่อการเพาะพันธุ์หรือได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
(2) การครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่า
คุ้มครองเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์
สาธารณะตามมาตรา 29 และได้จัดแสดงไว้ในสวนสัตว์สาธารณะที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้น
"ครอบครอง หมายถึง กริยาเข้ายึดถือทรัพย์สินจากนิยามของคำว่าครอบครองนี้ หมายรวมถึงการเลี้ยงปลาในบ้านเพราะเราได้ยึดถือและมีกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์"
มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้ใดค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน ซากของ
สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว เว้นแต่เป็นการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง
ชนิดที่กำหนดตามมาตรา 17 ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ ซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์
ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ทั้งนี้โดยได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดใน
กฎกระทรวง
สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว เว้นแต่เป็นการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง
ชนิดที่กำหนดตามมาตรา 17 ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ ซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์
ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ทั้งนี้โดยได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดใน
กฎกระทรวง
"ค้า หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อประโยชน์ทางการค้า รวมถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อขายด้วย"
ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดที่เลี้ยงปลาเสือตอ หรือปลาอโรวาน่า ต้องไปยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.15)
ส่วนผู้ที่ค้าปลาเสือตอ หรือปลาอโรวาน่า ต้องไปยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้จากการเพาะพันธุ์ (สป.11)
ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นการเลี้ยงปลาเสือตอ หรือปลาอโรวาน่า ภายในบ้านโดยไม่มีใบอนุญาตนั้นเป็นการกระทำความผิด แม้ในปัจจุบันนี้ปลาอโรวาน่าจะสามารถเพาะพันธุ์ได้อย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม แต่การที่เราซื้อปลาอโรวาน่าโดยไม่มีใบรับรองสายพันธุ์จากฟาร์ม จะทำให้เราไม่สามารถทำใบครองครอบที่ถูกกฎหมาย(สป.15)
แหล่งอ้างอิง
Ittipat B.
5510422 section 2
ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นการเลี้ยงปลาเสือตอ หรือปลาอโรวาน่า ภายในบ้านโดยไม่มีใบอนุญาตนั้นเป็นการกระทำความผิด แม้ในปัจจุบันนี้ปลาอโรวาน่าจะสามารถเพาะพันธุ์ได้อย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม แต่การที่เราซื้อปลาอโรวาน่าโดยไม่มีใบรับรองสายพันธุ์จากฟาร์ม จะทำให้เราไม่สามารถทำใบครองครอบที่ถูกกฎหมาย(สป.15)
แหล่งอ้างอิง
- โลกสีเขียว, สัตว์ป่าคุ้มครอง [Online], 8 กันยายน 2556. แหล่งที่มา http://www.verdantplanet.org/protect/protectedanimal.php
- นิติธนกิจ, ครอบครองปรปักษ์เป็นอย่างไร [Online], 8กันยายน 2556. แหล่งที่มา http://www.nitithanakij.com/Notary-33.html
- กรมประมง, ขั้นตอนการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ [Online], 8 กันยายน 2556. แหล่งที่มา http://www.fisheries.go.th/management/care.htm
Ittipat B.
5510422 section 2